วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ระวัง!อาหารเสริม “แอล-คาร์นิทีน” เร่งเส้นเลือดอุดตัน

กำลังคิดจะหามากินอยู่พอดี  อ่านเจอเลยเว้นไว้ก่อน
หนึ่งคืออาจมีปัญหาอย่างในบทความ
สองคือ มันเปลืองเงิน  ไม่ใช่ถูก ๆ  ใช้วิธีธรรมชาตินี่แหละ
--------------------------------------------------------------
ระวัง!อาหารเสริม “แอล-คาร์นิทีน” เร่งเส้นเลือดอุดตัน

ระวัง! กินอาหารเสริม “แอล-คาร์นิทีน” เร่งเส้นเลือดอุดตัน พบกินร่วมเนื้อสัตว์จุลินทรีย์ในลำไส้จะเปลี่ยนให้กลายเป็นสารพิษ หลายประเทศเร่งพิจารณาการใช้เป็นอาหารเสริม

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผอ.ศูนย์ปฏิบัติการโรคทางสมอง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ปัจจุบันคนไทยนิยมรับประทานอาหารเสริมและวิตามินต่างๆ แต่พบว่าวิตามิน อาหารเสริมหลายชนิดไม่มีการยืนยันประสิทธิผลตรงตามการโฆษณา อย่างสารประกอบแอล-คาร์นิทีน (L-carnitine) ที่มีการอนุญาตให้เป็นอาหารเสริมและโฆษณาว่าทำให้หุ่นกระชับ ผอม เพิ่มการเผาผลาญ โดยตามธรรมชาติจะอยู่ในเนื้อสัตว์ เนื้อแดง ถั่ว เป็นต้น แต่จากรายงานการค้นพบใหม่ของวารสารทางการแพทย์ชั้นนำ เนเจอร์ ของสหรัฐอเมริกา พบว่า สารแอล-คาร์นิทีน และโคลีน จะเปลี่ยนจุลินทรีย์ในลำไส้ เป็นสารพิษชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นตัวเร่งทำให้เกิดเส้นเลือดอุดตันได้

“หากรับประทานเนื้อสัตว์ แล้วทานแอล-คาร์นิทีน เสริมเข้าไป จะเปลี่ยนจุลินทรีย์ในลำไส้ เป็นสารพิษชนิดหนึ่ง ซึ่งมีผลต่อเส้นเลือดสมอง และหัวใจ แต่หากกินมังสวิรัส หรือไม่กินเนื้อสัตว์ พบว่าจุลินทรีย์ในลำไส้จะไม่เปลี่ยนแอล-คาร์นิทีนเป็นสารพิษ เนื่องจากจุลินทรีย์ในกลุ่มคนที่ไม่กินเนื้อสัตว์จะเป็นคนละชนิดกัน อย่างไรก็ตาม พบว่า ยังมีงานวิจัยที่พบว่า การได้รับแอล-คาร์นิทีน ในกลุ่มคนไข้ที่มีอาการเส้นเลือดหัวใจ สมอง ตีบตันอยู่แล้ว อาจช่วยให้อาการเจ็บแน่นหน้าอกจากเส้นเลือดหัวใจตีบให้มีอาการน้อยลงบ้าง” ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าว

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวอีกว่า รายงานทางการแพทย์ดังกล่าวถือเป็นการค้นพบใหม่ ซึ่งทำให้หลายประเทศกำลังมีการพิจารณาเรื่องดังกล่าวเนื่องจากมีการอนุญาตสารแอล-คาร์นิทีน เป็นอาหารเสริมในผลิตภัณฑ์หลายประเภท โดยในการบริโภคอาหารประจำวันจะได้ แอล-คาร์นิทีน ในขนาด 20-200 มก.แต่ในคนที่กินมังสวิรัติจะเหลือเพียง 1 มก.ต่อวัน แต่ในอาหารเสริม 1 เม็ด อาจมีปริมาณมากกว่า 500 มก. ทำให้ร่างกายได้รับมากเกินไป ซึ่งในส่วนของประเทศไทยนั้น ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเป็นจำนวนมาก บางชนิดก็ไม่มีงานวิจัยรองรับที่ชัดเจนว่าสามารถช่วยให้เกิดผลได้ตามที่โฆษณา การควบคุมโฆษณาผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารเสริม จึงควรมีกำกับ ไม่ให้เกิดการโฆษณาเกินจริงมากจนเกินไป

Cradit : ASTVผู้จัดการออนไลน์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น