วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

หลักการออกกำลังกายบรรเทาอาการกรดไหลย้อน และ การปฏิบัติตัวในชีวิตประจำวันเพื่อรักษาโรคกรดไหลย้อน

การปฏิบัติตัวในชีวิตประจำวัน เพื่อรักษาโรคกรดไหลย้อน

05.00
ตื่นนอน แล้วทานอาหารเช้าหลังจากนั้นไม่เกิน 2 ชั่วโมงครึ่ง
05.00 – 06.00
ทยอยดื่มน้ำเปล่า 1.00 – 1.25 ลิตร ระหว่างนั้นออกกำลังกายเบาๆประเภทยืดเส้น โยคะ (กายภาพบำบัด) ทำงานบ้าน เตรียมอาหารเช้า ต้มผักไว้ทาน
06.00 – 07.00
วิ่งออกกำลังกายให้ได้ความเร็ว 6 - 8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยมีระยะทางประมาณ 2 - 3 กิโลเมตร หากจุกแน่นท้อง แนะนำให้เดิน
07.15 – 08.00
ทานอาหารเช้า เคี้ยวช้าๆให้ละเอียด คำละ 2 – 3 นาที
12.00 – 13.00
ทานอาหารกลางวัน ระหว่างวันไม่ควรงีบหลับ เพราะอาจทำให้ท้องอืดได้
16.00 – 17.30
ทานอาหารเย็น
21.00 – 22.00
รีบเข้านอน เพื่อไม่ให้หิวกลางดึก ควรนอนหลังทานอาหารเย็นประมาณ 4 – 5 ชม. เพราะผู้ป่วยบางคนอาการหนัก กระเพาะอาหารอาจจะยังย่อยอาหารไม่เสร็จ

หลักการออกกำลังกายบรรเทาอาการกรดไหลย้อน

ควรเป็นการออกกำลังกายที่ทำให้เคลื่อนไหวช่วงท้อง เพื่อกระตุ้นให้อวัยวะทางเดินอาหารทำงาน ลำเลียงอาหารเก่า ของเสียและแก๊สที่คั่งค้างอยู่ภายในให้ระบายออก จากประสบการณ์การรักษาตัวของผมซึ่งลองผิดลองถูกมาหลายวิธี ผมพบว่าผู้ที่รักษาตัวสามารถออกกำลังกายได้หลายวิธี ซึ่งมีหลักการคล้ายๆกัน ผู้ป่วยควรออกกำลังกายให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายของตนเองดังนี้

1. วิ่ง
ช่วงที่ผมป่วย ผมตื่นนอนตอนตี 5 หลังจากนั้นทยอยดื่มน้ำเปล่าไม่เย็น 1.0 – 1.5 ลิตร เวลา 6 โมงเช้า จึงออกไปวิ่ง การวิ่งช่วยลำไส้ให้มีการเคลื่อนไหว ทำให้อาหารเคลื่อนที่ จึงช่วยไล่ลมในท้องได้เป็นอย่างดี ขณะวิ่ง ผมมักจะเรอและผายลมหลายครั้ง หลังวิ่งจะรู้สึกได้เลยว่าท้องยุบลง
แต่ช่วงอาการหนัก (ที่คนไข้รู้สึกแสบท้อง ปวดเหมือนลำไส้ถูกบิด ท้องอืดรุนแรง จุกที่คอ แน่นหน้าอก) ผมวิ่งนานเท่าไรก็ไม่มีลมในท้องระบายออกมาเลย อย่างไรก็ตาม ผมก็อดทนวิ่ง และพบว่าลมเริ่มระบายออก ฉะนั้น การออกกำลังกายทำให้ร่างกายดีขึ้นจริง หากวิ่งแล้วจุกแน่นท้อง เปลี่ยนมาเดินจะดีกว่า โดยพักสักครู่ 30 – 45 นาทีหลังรับประทานอาหาร แล้วจึงเดินเพื่อช่วยย่อยอาหาร
2. การแกว่งแขน ก็ช่วยไล่ลมได้เช่นกัน
3. ไม่ควรนั่งทำงานติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรเปลี่ยนอิริยาบถทุกๆ 20 นาที เพื่อให้ร่างกายเคลื่อนไหวไม่อยู่กับที่
4. แนะนำให้ทำงานบ้านด้วยตนเอง เช่น ถูบ้าน เช็ดรถ ล้างจาน ล้างรถ เช็ดรถ ฯลฯ การทำงานบ้านนอกจากไม่ทำให้เครียดแล้ว ยังทำให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหวเป็นการออกกำลังกายที่ดีอีกด้วยครับ
5. การออกกำลังกายด้วยเครื่อง Skywalk, จักรยาน หรือ Stepper ก็ช่วยไล่ลมในท้องได้เช่นกั

ท่าโยคะไล่ลม บรรเทาอาการแน่นท้อง ท้องอืด อาหารไม่ย่อย
ท่านี้ช่วยไล่ลมในระบบทางเดินอาหาร ทำให้ท้องยุบลง ช่วยให้อาหารเคลื่อนที่ ท่าโยคะช่วยไล่ลมในช่องท้อง ==> http://www.healthcorners.com/2007/web_yoga/read_yoga.php?id=125
และลองอ่านบทความน่าสนเกี่ยวกับโรคลมในกระเพาะ ==> http://www.thuseen.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&WBntype=1&Category=thuseencom&thispage=63&No=1281790
วิธีปฏิบัติ
- ยืดขึ้นช้าๆ อย่าเกร็ง ทำเท่าที่คุณจะทำได้ พยายามเหยียดแขนให้สุด เอียงตัวพอประมาณ ค้างไว้ 5 – 15 วินาที
- ทำครั้งละ 5 - 15 set
- หากทำแล้วมีอาการจุก หรือลมตีขึ้นบน ควรหยุดทำทันที
เวลาที่ควรปฏิบัติ
- ตื่นนอนตอนเช้า หลังดื่มน้ำ
- หลังอาหาร 2 ชม. เพราะกระเพาะอาหารจะย่อยอาหารเสร็จภายใน 2 ชั่วโมงสำหรับคนปกติ
- ก่อนนอน 15 นาที เพื่อไล่ลมส่วนเกิน บรรเทาอาการแน่นหน้าอก แสบร้อนในตอนกลางคืน
- หากตื่นมากลางดึก ท่าโยคะนี้และการแกว่งแขนก็ช่วยได้เช่นกัน
เขียนโดย : รู้ไว้มีสุข &&& Thank you : แซร่า ไอแวนเฮล

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=alwaysforever&month=08-2011&date=29&group=3&gblog=8

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ26 สิงหาคม 2564 เวลา 23:00

    วิ่งเสร็จทานข้าวได้เลยใช่ไหมคะ

    ตอบลบ