วันเสาร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2556

เฟซบุ๊กช่วยให้คนมีความสุข


ถ้าหากท่านรู้สึกทุกข์ใจ เฟซบุ๊กช่วยได้ ซึ่งก็น่าแปลกที่ผลจากการศึกษา คนที่ใช้เวลาอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์นานมักไม่ดี

 ถ้า หากท่านรู้สึกทุกข์ใจ เฟซบุ๊กช่วยได้ ซึ่งก็น่าแปลกที่ผลจากการศึกษา คนที่ใช้เวลาอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์นานมักไม่ดี แต่เฟซบุ๊กกลับช่วยคลายทุกข์ได้

การศึกษาชิ้นใหม่แนะนำว่าการ ใช้เวลากับออนไลน์ ถ้าหากมีเพื่อนจำนวนนับร้อย ๆ คน มีการส่งข่าวคราวให้ทราบกันตลอดเวลามีรูปถ่ายกิจกรรมต่าง ๆ จะช่วยให้ผู้ใช้เวลาอยู่กับคอมพิวเตอร์ออนไลน์มีความสุขขึ้นมาได้

นัก วิจัยแห่งมหาวิทยาลัยคอร์แนล สหรัฐอเมริกา ซึ่งศึกษาเรื่องนี้ได้กล่าวว่าเฟซบุ๊กเป็นที่ที่พวกเรามักจะพยายามทำให้ตน เองดูดีที่สุด ในหน้าเฟซบุ๊ก ซึ่งก็ทำให้อัตตา (Ego) ของตนเองสูงขึ้น

รอง ศาสตราจารย์ เจฟฟรี แฮนค็อกได้กล่าวว่า “เฟซบุ๊กไม่เหมือนกระจกส่องหน้า ซึ่งกระจกเงาจะช่วยให้เรารู้ว่าเราจริง ๆ เป็นใคร ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความไม่สบายใจได้ ถ้าหากภาพของเราที่ปรากฏต่อหน้าไม่เหมือนกับที่เราตั้งใจหรือวาดฝันไว้ เช่นอาจจะไม่สวยไม่หล่อดังที่คิดไว้”

“แต่เฟซบุ๊กมีแต่สิ่ง ที่ดี ๆ ของเราใส่เข้าไปข้างในให้เพื่อน ๆ ได้ดู เราไม่ได้หลอกตัวเองหรอกและก็ไม่ได้โกหกใครหากแต่เราโชว์เฉพาะสิ่งที่เป็น บวกเอาไว้เท่านั้น”

รองศาสตราจารย์ เจฟฟรี แฮนค็อกเป็นผู้เขียนบทรายงานชื่อ “กระจก กระจกที่แขวนไว้บนฝาผนังเฟซบุ๊ก” ซึ่งได้ลงตีพิมพ์ในวารสารจิตวิทยาไซเบอร์ พฤติกรรมและบริการเครือข่ายสังคม ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์นี้เอง ล่าสุดในบทรายงานได้ทำการทดสอบกับนักศึกษาจำนวน 63 คน ซึ่งได้ถูกปล่อยให้อยู่กับคอมพิวเตอร์ในห้องปฏิบัติการของมหาวิทยาลัยฯ คอมพิวเตอร์นี้เปิดใช้งานอยู่แต่ไม่ได้โชว์หน้าเฟซบุ๊กโดยตรง คอมพิวเตอร์อีกส่วนหนึ่งซึ่งปิดไว้อยู่นั้นจะมีกระจกส่องหน้าอยู่ที่สกรีน แทน

นักศึกษากลุ่มที่อยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นให้เข้าไป ใช้เฟซบุ๊กได้เพียง 3 นาทีเท่านั้นที่จะทบทวนดูแลตนเองและคุยกับเพื่อนในเฟซบุ๊ก หลังจากนั้นนักศึกษาก็จะได้รับกระดาษเพื่อตอบคำถามเพื่อวัดความพึงพอใจและ ความสุขของตนเอง

ผลปรากฏว่านักศึกษาที่อยู่กับเฟซบุ๊ก รู้สึกพึงพอใจและมีความสุขกับตนเองมากกว่านักศึกษาอีก 2 กลุ่มที่เข้าไปในเฟซ บุ๊กและเข้าไปเปลี่ยนแปลงแก้ไขประวัติสิ่งที่อยากจะบอกเรื่องตนเองให้กับผู้ อื่น ได้รับคะแนนความสุขสูงสุด

ทางรองศาสตราจารย์ เจฟฟรี แฮนค็อก ได้กล่าวเสริมว่า “สำหรับหลาย ๆ คนที่ตั้งข้อสมมุติฐานโดยอัตโนมัติว่าอินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งที่ไม่ดีนั้น งานวิจัยชิ้นนี้คือตัวอย่างแรกที่แสดงให้เห็นว่า เฟซบุ๊กมีประโยชน์ในด้านจิตวิทยา”

แต่อย่างไรก็ตามแหล่งข่าว ระบุว่าในกลุ่มนักจิตวิทยาก็ยังมีอีกส่วนที่เห็น ตรงข้าม คือ เด็กบางคนอาจจะถูกนำไปในพฤติกรรมทางไม่ดีได้เหมือนกัน โดยที่จะใส่พฤติกรรมที่ไม่ดีของตนเอง เข้าไปในเฟซบุ๊กด้วย

แต่ก็หวังว่างานวิจัยชิ้นนี้คงจะไม่ได้รับการสนับสนุนจากเฟซบุ๊กเสียละ.


รศ.ดร.บุญมาก ศิริเนาวกุล
อธิการบดี มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
boonmark@stamford.edu

ที่มา : www.dailynews.co.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น