วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

นิสัยคนไทย 41 แบบ

"นิสัย" คนไทย ตัวอย่างหลักฐานทางประวัติศาสตร
์ ที่คนต่างชาติที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทย(สยาม) และได้เขียนอธิบายถึงนิสัยคนไทยเป็นภาษาต่างประเทศ

"นิสัย" คนไทย

ตัวอย่างหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ที่คนต่างชาติที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทย(สยาม) และได้เขียนอธิบายถึงนิสัยคนไทยเป็นภาษาต่างประเทศ

1. Joost Schouten (โยส สเคาเต็น ชาวฮอลันดา (ประเทศเนเธอร์แลนด์) หนังสือ “A True Description of the Mighty Kingdom of Siam” พ.ศ. 2174 (ค.ศ. 1631) แปลโดย ขจร สุขพานิช กรมศิลปากร)
“ คนสยามเป็นทหารที่ดีไม่ได้ มักโหดร้ายทารุณกับเชลยศึก มีท่าทางหยิ่งจองหอง แต่เมื่อมีกิจธุระต้องติดต่อกันก็ จะสุภาพเรียบร้อย ชอบสนุก หัวอ่อน ขี้ขลาด ขี้ระแวง ชอบประจบ ไม่น่าเชื่อถือ หลอกลวงเก่ง และชอบพูดไม่จริงอย่างที่สุด มีท่าทางเย่อหยิ่งจองหอง อวดดี เป็นนิสัย .. มีนิสัยเกียจคร้านมาก ไม่ชอบทำงาน …. อาหารปกติจะมี ข้าว ปลา และผัก มีการดื่มสุราอย่างมากมายในวันหยุด …….”

2. Van Vliet (วันวลิต ชาวฮอลันดา พ.ศ. 2183 (ค.ศ. 1640) สมัย พระเจ้าปราสาททอง
“……By natural avarice (โลภมาก) and dishonesty (ไม่ซื่อตรง) of the mandarins (ขุนนาง), …….the most powerful or therichest men generally won their cases, usually by bribery or other corrupt means, and only the poor were made to suffer.
“ I will only mention that one cannot rely upon the Siamese nation, and that nobody can be trusted (ไว้ใจ) or believed.”


3. Monsieur de la Lubere เขียนไว้ใน Du Royaume de Siam. 1714. แปลโดย สันต์ ท.โกมลบุตร 2548. (ลาลูแบร์ เอกอัคราชทูตพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ฝรั่งเศส ในปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ พ.ศ. 2231 (ค.ศ. 1688) อยู่ในกรุงศรีอยุธยา 3 เดือน 6 วัน)
“ชาวสยามแต่งเนื้อแต่งตัวอย่างเรียบๆ ง่ายๆ บ้านเรือนและอาหารการกินของเขาก็เรียบๆ ง่ายๆ ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ….. เพราะพวกเขาเป็นคนนับถือสันโดษมีความมักน้อย”
“ชาวสยามไม่สู้สนใจกับการทำมาหาเลี้ยงชีพนัก พอตกค่ำลงก็ได้ยินแต่เสียงร้องลำทำเพลงไปทั่วทุกบ้านเรือน”
“ชาวสยามนั้นเป็นคนมีสติป้ญญา เสียแต่ว่าเกียจคร้าน.. พวกเขามิได้ประดิษฐ์คิดค้นอะไรขึ้นมาได้เลย …..”
“ชาวสยามไม่ประสาในปรัชญาแขนงต่างๆ ชาวสยามหลงนิยมงมงายนมัสการเทพเจ้า
“ชาวสยามเป็นผู้มีนิสัยอ่อนโยน มีสัมมาคารวะ ใจเย็นและไม่ค่อยจะมีโทสจริตรุนแรง … ชาวสยามไม่อยากรู้อยากเห็น หรือนิยมชมชื่นในอะไรๆ ทั้งนั้น ชาวสยามเป็นคนเจ้าเล่ห์และกลับกลอกอยู่เสมอ ”
“ชาวสยามพูดปดเก่ง….. ชาวสยามเป็นขโมย ชาวสยามไม่ปฏิเสธการลักขโมยเลยในเมื่อมีโอกาสที่จะกระทำได้”
“คนสยามนั้นกลัวต้องตกเป็นขอทานมากกว่ากลัวต้องตกเป็นทาสเสียอีก”
“คนสยามได้ชื่อว่าเป็นผู้มีเมตตาต่อสัตว์เป็นอันมาก แต่ยากนักที่จะให้การเอื้อเฟื้อจุนเจือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน.”
“ชาวสยามนั้นไม่เหมาะที่จะเรียนวิชาอย่างคร่ำเคร่ง อุปนิสัยอันสำคัญของประชาชนในประเทศที่มีความร้อนมากๆ หรือในประเทศที่มีความหนาวจัด ก็คือความเกียจคร้านในด้านความคิดความอ่าน และในด้านร่างกาย”
“ความซื่อตรงของชาวสยามในด้านการค้าทุกประเภทนั้นมีอยู่มาก … แต่การให้กู้ทรัพย์สินแล้วมีการขูดรีดดอกเบี้ยอย่างรุนแรงอย่างไม่มีขอบเขต
“ชาวสยามไม่ค่อยชอบบริโภคเนื้อสัตว์”
“หญิงชาวสยามไม่ยอมทอดเนื้อตัวให้คนต่างประเทศโดยง่าย

ประวัติศาสตร์ไทยฉบับย่อ – ความจริงที่คนไทยควรตระหนัก
โดย ABP@BDZ
มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์ บันทึกไว้เมื่อหลายร้อยปีที่แล้วว่า คนไทยนั้น “เป็นผู้มีนิสัยอ่อนโยน มีสัมมาคารวะ ใจเย็น และไม่ค่อยมีโทสะรุนแรงนัก คุมสติไว้ได้นานมาก แต่เมื่อความโกรธลุกโพลงขึ้นมาแล้วดูเหมือนจะมีความยับยั้งชั่งใจน้อยกว่า พวกเรา (พวกฝรั่งเศส) ความขี้อาย ความโลภ ความสะกดอดกลั้น ความเงียบขรึม และแนวโน้มในการกล่าวเท็จจะทวีขึ้นในกมลสันดาน


4. Rev. Carl Cuzlaff หมอ กุสลาฟฟ์ มิชชั่นนารีชาวเยอรมัน เผยแพร่ศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนต์ ปีพ.ศ. 2371 (อาทร จันทวิมล2546 ประวัติศาสตร์ไทย)
“คนสยามมีนิสัยโลเลมาก วันนี้มีความคิดอย่างหนึ่ง พรุ่งนี้เปลี่ยนเป็นอีกอย่างหนึ่ง และคนสยามจำนวนมากไม่ซื่อสัตย์”


5. Jean-Baptiste Pallegoix (ชอง แบบติส ชาวฝรั่งเศส เข้ามาในไทย พ.ศ. 2374 (คศ. 1830 -1854) สมัยรัชกาลที่ 4 สังฆนายกคณะมิซซังโรมันคาทอลิก “Description du Royaume Thai ou Siam” เล่าเรื่องกรุงสยามแปลโดย สันต์ ท.โกมลบุตร)

“คนไทย มีนิสัยอ่อนโยน มักง่าย ไม่ค่อยยั้งคิด ขี้กลัว และขี้สนุก ไม่ชอบการทะเลาะวิวาท .. เป็นคนเกียจคร้าน โลเล ใจลอย และสำคัญที่ขี้ขอ .. เป็นคนใจบุญ . ชอบเล่นการพนันและการเล่นมาก เป็นคนเจ้าปัญญา เฉลียวฉลาด ”


6. Roger Welty เขียนหนังสือชื่อ The Thai & I : Thai Culture and Society. 1996.(Asia Book)

"I Swear to Tell the Half-Truth."

One characteristic of many Thais is their seeming inability to tell the whole, unvanished truth. Often I've found myself the butt of a crative deception, and many times when I could see no need for it.
Once, when I was supervising an examination at the university, I caught a studen apparently receiving answers from someone just out of my sight, beyound the open door. I quietly left my post near the front room and approached the student's desk. I was right, beyond a shadow of a doubt: he was attempting to receive an answer from someone just outside. That person saw me first, made a signal, and disappeared. The student, una ware I was standing when I removed the exam paper from the top of his desk, impounding it. He sat there glumly until the end bell and then disappeared.

A day or later, the dean sent for me. " Perhaps you should take the week off. Go home and don't come back to your classes for a week. Mr.So-and so was ver angry that you caught him"
" Why did you see it?" my friend asked
" See What"
" See the student cheating"
" That was my job. I was supervising to prevent cheating."
" Yes, yes, I understand. But why did you see him?"

"Social values that important in Thailand are
Phi-Nong, Group-oriented, Mai Pen Rai, Cooperation, Seniority, Accepting Authority, Saving Face, Kreng Chai, Hai Kiat, Nam Chai, Saksri, Chai Yen, Moh Som, Phak-Phuak, and The Five S's are Sa-at, Suphap, Samruan, Sanuk, Saduak)

คำสำคัญๆ ไทยๆ

ไม่เป็นไร
เล่นพวก
ไหว้วาน
เส้นสาย
ประจบ
ตามน้ำ
สบาย
สนุก
ยืดหยุ่น
ระบบอุปถัมภ์
 
จาก http://arayachon.org/forum/arayachon/626

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น